Tag: การสร้างโปรแกรมต่างๆ

เว็บจีแอล

เว็บจีแอล ( WebGL: Web Graphics Library ไลบรารีกราฟิกส์บนเว็บ) เป็นการใช้ภาษา javascript ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ ซึ่งมี API มาช่วยในเรื่องของการแสดงผลแบบ 3มิติ และ 2มิติ ซึ่งจะต้องทำงานภายใต้ web browser โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งปลักอินส์เพิ่ม…

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business E-Business) คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ โดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าว่าองค์กรเครือข่ายร่วม ในการดำเนินงานเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคมจุดมุ่งหมายในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นั้นคือ เพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจมากขึ้นและลดต้นทุนการทำธุรกิจโดยการอาศัยแรงงานคนที่น้อยในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ช่วยให้องค์กรภายนอกและภายในมีการดำเนินงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม E- Business อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเสมอไป เพียงแต่กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้องค์กรต่างๆ…

เอ็มเอชทีเอ็มแอล

เอ็มเอชทีเอ็มแอล ( MHTML: MIME HTML ไมม์เอชทีเอ็มแอล) เป็นมาตรฐานอันหนึ่งซึ่งใช้พื้นฐานมาจาก RFC 2557 ใช้สำหรับการฝังทรัพยากร เช่นแฟ้มภาพและเสียง ลงไปในเว็บเพจ แล้วใช้การเชื่อมโยงจากภายในด้วยวิธีการเดียวกันกับโค้ดใน HTML ทำให้สามารถเปิดอ่านเนื้อหาในเว็บเพจได้โดยไม่ต้องใช้การเชื่อมโยงภายนอก (ไปยังแฟ้มอื่น) แฟ้มข้อมูลที่ถูกฝังนั้นจะเข้ารหัสและเก็บเป็นแบบไมม์ (MIME) แฟ้มข้อมูลชนิดนี้ที่สร้างโดยไมโครซอฟท์ เวิร์ด…

เอชทีเอ็มแอล5

เอชทีเอ็มแอล5 ( HTML5; อ่านว่า เอชทีเอ็มแอลไฟฟ์ หรือ เอชทีเอ็มแอลห้า) เป็นมาตรฐานตัวต่อไปของ HTML ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยมีลักษณะเหมือนมาตรฐานตัวก่อนหน้าทั้ง HTML 4.01 และ XHTML 1.1 ที่ใช้ในการจัดโครงสร้างและการแสดงผลของเนื้อหาสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บ มาตรฐานใหม่จะมีคุณลักษณะเด่นที่สำคัญได้แก่-การใช้งานวิดีโอ-การแสดงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์-การเก็บไฟล์ในลักษณะออฟไลน์-การแสดงกราฟิกส์-input types แบบใหม่…

เอชทีเอ็มแอล

เอชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปัจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์…

เอกซ์เอชทีเอ็มแอล

เอกซ์เอชทีเอ็มแอล ( XHTML: Extensible Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปที่มีลักษณะการใช้งานเหมือน HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา โดยมีวากยสัมพันธ์สอดคล้องกับ XML เนื่องจาก HTML นั้นใช้โครงสร้างของ SGML ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ในขณะที่ XHTML…

ตระกูลชุดแบบอักษร

ใน HTML และ XHTML ได้ใช้ font face หรือ font family เป็นตัวกำหนด รูปแบบตัวอักษร การกำหนดรูปแบบตัวอักษรในการเขียนรหัส HTML จำเป็นต้องใช้ Element Font, หรือใช้ Cascading Style…

แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์

แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ (Cascading Style Sheets: CSS) เป็นภาษาสไตล์ชีตใช้ในการจัดรูปแบบ เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเกิดจากการรวมหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเข้าด้วยกัน…

เอชทีทีพีคุกกี้

เอชทีทีพีคุกกี้ (HTTP cookie) นิยมเรียกว่า เว็บคุกกี้ หรือ คุกกี้ หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกส่งจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังเว็บเบราว์เซอร์ และถูกส่งกลับมายังเว็บเซิร์ฟเวอร์ทุกๆครั้งที่เว็บเบราว์เซอร์ร้องขอข้อมูล โดยปกติแล้วคุกกี้จะถูกใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กๆไว้ที่เว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถจดจำสถานะการใช้งานของเว็บเบราว์เซอร์ที่มีต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ตัวอย่างการใช้งานคุกกี้เช่น ใช้เพื่อจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้ เวลาที่ผู้ใช้เข้าเว็บครั้งล่าสุด ข้อมูลสินค้าที่ผู้ใช้เลือกไว้ ข้อมูลในคุกกี้เหล่านี้ ทำให้เว็บไซต์สามารถที่จะจดจำผู้ใช้ได้ แต่ไม่สามารถส่งคำสั่งมาประมวลผล หรือส่งไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านคุกกี้ได้ และมีเพียงเซิร์ฟเวอร์ที่สร้างคุกกี้นั้นๆ…

เอชทีทีพี 404

ข้อความระบุความผิดพเมื่อมีการติดต่อผ่านทางเอชทีทีพี เซิร์ฟเวอร์ต้องตอบสนองกับการร้องขอ เช่นเว็บเบราว์เซอร์ส่งคำร้องขอเอกสารเอชทีเอ็มแอล (เว็บเพจ) ด้วยรหัสตอบสนองแบบตัวเลข และตัวเลือกข้อความว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาต (ขึ้นอยู่กับรหัสสถานภาพ) ตัวแรกของรหัส “4” หมายถึงความผิดพลาดทางไคลเอนต์ เช่น การพิมพ์ยูอาร์แอลผิด ตัวเลขที่ตามมาอีกสองตำแหน่ง “04” ระบุสาเหตุของความผิดพลาดที่พบ เอชทีทีพีใช้ระบบรหัสสามตัวในลักษณะนี้ซึ่งคล้ายคลึงกับรหัสที่ใช้ในโพรโทคอลก่อนหน้าอย่างเช่นเอฟทีพีและเอ็นเอ็นทีพี สำหรับรหัสตอบสนอง 404 จะตามด้วย “ข้อความระบุสาเหตุ”…