บล็อกเกอร์ ( Blogger) เป็นบริการบล็อกของกูเกิล ภายหลังจากทดลองให้บริการในช่วงระยะพัฒนา และลงทะเบียนได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับกูเกิล หรือไม่จำเป็นต้องใช้จีเมลมาระยะหนึ่ง ปัจจุบันการใช้บริการบล็อกเกอร์จำเป็นต้องใช้จีเมล์ในการกรอกเป็นรหัสผ่าน และสิ้นสุดเบต้าเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 บล็อกเกอร์ คิดค้นขึ้นโดยไพรา แลบส์ (Pyra Labs) ในปี พ.ศ. 2542 ที่อยู่ของการลงทะเบียนจะอยู่ที่ blogger.com เมื่อลงทะเบียนแล้วจะบันทึกบล็อกในรูป blogname.blogspot.com จีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (บีตา) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน
การเริ่มโครงการจีเมลของ กูเกิลนั้นเริ่มพัฒนาขึ้นมาหลายปีก่อนที่จะเปิดให้บริการ โดยในระยะแรกเริ่มของการเปิดให้บริการ จะให้สิทธิ์ในการสมัครจีเมลโดยแจกจ่ายสิทธิทางอีเมลเชิญชวนเท่านั้น จนกระทั่งต่อมาจึงได้ยกเลิกการสงวนสิทธิ์ดังกล่าว โดยเปิดให้สมัครได้กับทางเว็บไซต์โดยตรง โดยหลักแล้วภาษาที่ใช้พัฒนาคือ AJAX เป็นภาษาที่ใช้ในเว็บรุ่น 2.0 (เน้นหนักไปที่ AJAXSLT framework) นอกจากนี้จะมีการเรียกใช้คุณสมบัติของ JavaScript ภายในเครื่องเพื่อการรับค่าแสดงผล จีเมลสามารถรับภาษาได้มากกว่า 52 ภาษาทั่วโลก ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 จีเมลได้มีการทดลองก่อนที่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[6] ในญี่ปุ่น 3 กันยายน พ.ศ. 2549[ต้องการอ้างอิง] และในอียิปต์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2549นอกจากนั้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เปิดให้ลงทะเบียนทั้งในยุโรป อเมริกากลาง และแอฟริกา จนกระทั่งระบบรองรับการใช้งาน ทำการเปิดให้ลงทะเบียนใช้งานได้ทั่วโลกโดยไม่ได้ติดป้าย ทดลองใช้ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เครื่องบริการ ระบบปฏิบัติการที่ให้บริการจีเมลคือ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล GFE/1.3 server พร้อมระบบปฏิบัติการลินุกซ์
พื้นที่เก็บอีเมล ในระยะแรก จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมล 1 จิกะไบต์ต่อหนึ่งอีเมลของจีเมล และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา จีเมลจะเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมลมากกว่า 10 จิกะไบต์ และยังคงเพิ่มขึ้นทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา โดยหากมีการใช้งานมาก ต้องการความจุเพิ่มขึ้นจากที่ทางจีเมลให้บริการฟรี สามารถอัปเกรดได้โดยเสียค่าบริการเพิ่ม โดยความจุที่เพิ่มขึ้นจะใช้ร่วมกันระหว่างบริการ ปีกาซา กูเกิล ด็อกส์ และ จีเมล รูปร่างหน้าตา โดยเริ่มแรก จีเมลยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลได้ แต่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2008 จีเมลได้เพิ่มชุดรูปแบบกราฟิกการแสดงผล (สกิน) ของกูเกิลให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ โปรแกรมท่องอินเทอร์เน็ตที่รองรับ จีเมลสามารถแสดงผลได้ดีตามรายชื่อต่อไปนี้ : อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 5.5+, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ 1.0+, Safari 1.2.1+, K-Meleon 0.9+, Netscape 7.1+, Opera 9+, กูเกิล โครม โดยมีการเพิ่มโค้ดในการรองรับ Firefox 2.0+ และ Internet Explorer 7 / 8 จีเมลสามารถใช้งานแบบไม่มีการใช้จาวาและอาเจ็คได้โดยมีชื่อว่า “Basic HTML view” หรือแสดงผลแบบเอชทีเอ็มแอลปกติ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้งานในแบบปกติได้ เช่น ใช้เว็บเบราว์เซอร์รุ่นเก่า หรือไม่ได้เปิดการทำงานของจาวาสคริปต์ไว้ จีเมลจะเข้าระบบเอชทีเอ็มแอลปกติ
ประวัติ ความคิดในการสร้างอีเมล์ถูกเสนอขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์งานกับกูเกิลโดยRajen Sheth จากนั้นโครงการจึงเริ่มโดยนักพัฒนาของกูเกิลชื่อ Paul Buchheit เขาใช้เวลาพัฒนามาหลายปีก่อนจะเปิดเป็นสาธารณะ โดยแรกเริ่ม จีเมลถูกใช้สำหรับพนักงานในบริษัทกูเกิลเท่านั้น ต่อมากูเกิลจึงเปิดเผยต่อสาธารณะในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2004(วันเมษาหน้าโง่) ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องโกหก การรองรับภาษ จีเมลในปัจจุบันมีการรองรับภาษาทั่วโลกได้ 52 ภาษาแล้ว ดังนี้: อาหรับ, บัลแกเรีย, กาตาลา, จีนตัวย่อ, จีนตัวเต็ม, โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดัตช์, อังกฤษ (UK), อังกฤษ (US), เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, กรีก, กูจาราติ, ฮีบรู, ฮินดี, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, อินโดนีเซีย, อิตาลี , ญี่ปุ่น, กันนาดา, เกาหลี, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มลายู, มลยาฬัม , มราฐี, นอร์เวย์ (Bokmål), โอริยา, โปแลนด์, ปัญจาบ, โปรตุเกส (บราซิล), โปรตุเกส , โรมาเนีย, รัสเซีย, เซอร์เบีย, สิงหล, สโลวัก, สโลวีเนีย, สเปน, สวีเดน, ตากาล็อก, ทมิฬ, เตลูกู, ไทย, ตุรกี, ยูเครน, อูรดู และ เวียดนาม การใช้งานร่วม จีเมลมีความสามารถในการใช้งานระหว่าง Blogger หรือระบบโทรศัพท์มือถือได้หลายอย่าง โดยสามารถใช้งานได้โดยไม่มีการเรียกใช้โปรแกรมภายในเครื่องจะเป็นระบบข้อความ text messagingในเฉพาะโทรศัพท์ที่มีระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโอเพนซอร์ซ ยังจุดประกายให้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีความโปร่งใสและเสรีภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น CAMBIAแม้กระทั่งวิธีวิทยาทางงานวิจัยเองก็สามารถได้ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้หลักการโอเพนซอร์ซตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรี หลักของการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซคือการผลิตแบบเสมอกัน (peer production) โดยมหาชนสามารถเข้าถึงผลิตผล เช่น ซอร์ซโค้ด พิมพ์เขียว และเอกสารกำกับโปรแกรมได้อย่างเสรี การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโอเพนซอร์ซทางด้านซอฟต์แวร์เริ่มโดยเป็นการตอบโต้ข้อจำกัดของโค้ดจำกัดสิทธิ ตัวแบบถูกใช้สำหรับโครงการ เช่น ใน open-source appropriate technology และการคิดค้นยาแบบโอเพนซอร์ซ โอเพนซอร์ซส่งเสริมการเข้าถึงอย่างเสรีผ่านโอเพนซอร์ซหรือสัญญาอนุญาตเสรีต่อการออกแบบหรือพิมพ์เขียวของผลิตผล รวมถึงการแจกจ่ายการออกแบบหรือพิมพ์เขียวนั้นอย่างสากล ก่อนคำว่า โอเพนซอร์ซ จะถูกใช้อย่างแพร่หลาย ผู้พัฒนาและผู้ผลิตใช้คำศัพท์อื่น ทว่าคำว่า โอเพนซอร์ซ ได้รับความนิยมหลังอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายการเคลื่อนไหวซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์ซเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความชัดเจนด้านลิขสิทธิ์ การจดใบอนุญาต โดเมน และประเด็นเกี่ยวกับผู้บริโภค