เอเดียม (Adium) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์บนระบบปฏิบัติการ Mac OS X สนับสนุนโพรโทคอลการพูดคุยหลายชนิด โดยพัฒนามาจากไลบรารี libpurple โปรแกรมพัฒนาขึ้นด้วย API ของ Mac OS X ที่ชื่อ Cocoa และใช้วิธีการพัฒนาแบบซอฟต์แวร์เสรี มีสัญญาอนุญาตใช้งานเป็น GPL Adium 1.3 ต้องการ Mac OS X 10.4 หรือใหม่กว่านั้น สำหรับผู้ใช้ Mac OS X 10.3.9 ควรที่จะใช้เวอร์ชัน 1.0.6 ในทางตรงกันข้ามผู้ใช้ Mac OS X 10.2 ก็่ควรจะต้องใช้เวอร์ชัน 0.89.1 Adium 0.88 และเวอร์ชันที่สูงกว่านั้นได้ถูกสร้างออกมาด้วย Universal binaries และเป็นรุ่นแรกที่รองรับการแสดงผลภาษาไทย ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้ วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์อยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยส่งข้อความโดยเฉลี่ย 70 ล้านข้อความต่อวัน หรือประมาณ 2.2 พันล้านข้อความต่อเดือนในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการและได้ย้ายบัญชีผู้ใช้ทั้งหมดไปที่โปรแกรมสไกป์แทน[2ชื่อแรกที่ออกมาคือ เอ็มเอสเอ็น แมสเซ็นเจอร์ เซอร์วิซ ออกเมื่อปี 1999 ที่ให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น การส่งข้อความโต้ตอบ รายชื่อผู้คนที่ติดต่อ ที่รองรับภาษาอังกฤษเท่านั้น จากนั้นจึงเพิ่มแบนเนอร์โฆษณาและฟีเจอร์ต่างๆ และปรับหน้าตาโปรแกรมให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้ ต่อมาได้ออก เอ็มเอสเอ็น เวอร์ชัน 3 ในปี 2000 สามารถส่งไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังโทรศัพท์ รวมทั้งเพิ่มความสามารถของด้านไฟล์เสียง ปีถัดมาได้เปลี่ยนแปลงทางด้านยูสเซอร์ อินเทอร์เฟซ และการการแบ่งกลุ่มของรายชื่อผู้ติดต่อ มีการเปลี่ยนชื่อจากเอ็น แมสเซ็นเจอร์ เซอร์วิซ เป็น เอ็มเอสเอ็น แมสเซ็นเจอร์
ในปี 2003 เพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ เช่น อิโมติคอน ภาพแทนตัว และภาพพื้นหลัง และในปี 2005 เพิ่มฟีเจอร์ อย่างเช่น วิงค์ รูปภาพเคลื่อนไหว อิโมติคอน และแบ๊คกราวด์ และยังเพิ่มการใช้งานของ Voice Clip ที่สามารถอัดเสียงได้นาน 15 วินาที และสามารถส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ ต่อมาในปี 2006 เอ็มเอสเอ็น แมสเซ็นเจอร์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วินโดวส์ ไลฟ์ แมสเซ็นเจอร์ โดยได้เพิ่มลูกเล่นต่างๆ เช่น การโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องโทรศัพท์ และ วินโดวส์ ไลฟ์ ทูเดย์ และยังรองรับการใช้งานภาษาไทยในปี 2007 ได้เปิดตัวโปรแกรมเวอร์ชัน 8.5 ได้ปรับปรุงเพิ่มอย่างเช่น ชื่อและรูปภาพของผู้ใช้งานจะปรากฏบนคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เข้าใช้งาน และยังสามารถ ส่งเอสเอ็มเอสผ่านทางเอ็มเอสเอ็น และเพิ่มเมนู report abuse ด้วย i’m เป็นโครงการที่ริเริ่มจากวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ ซึ่งออกแบบเพื่อให้รายได้จากการโฆษณาไปยังมูลนิธิ หรือองค์กร ที่ไม่หวังผลกำไร โดยผู้ใช้สามารถเลือกองค์กรที่ต้องการได้ตามที่แสดงในตารางด้านล่าง ด้วยการใส่โค้ดที่ต้องการนำหน้าชื่อในวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ 8.1 หรือสูงกว่า
เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ใช้ โปรโตรคอล Mobile Status Notification (MSNP) บน TCP (และบางครั้งก็ใช้ HTTP เพื่อจัดการกับพร็อกซี่) ในการเชื่อมต่อไปยังบริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ โดยผ่านพอร์ต 1863 ของ messenger.hotmail.com ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ได้พัฒนามาถึงรุ่นที่ 13 แล้ว (MSNP13) ซึ่งเอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ 7.5 และไคลเอนต์อื่นๆก็ใช้โพรโทคอลรุ่นนี้อยู่ โพรโทคอลรุ่นนี้ถูกเปิดเผยเพียงบางส่วนเท่านั้น ไมโครซอฟท์เคยเปิดเผยโพรโทคอลรุ่นที่ 2 (MSNP2) สำหรับนักพัฒนาในปี ค.ศ. 1999 ที่ Internet Draft แต่ไม่เคยเปิดเผยรุ่นที่ 8, 9, 10, 11 หรือ 12 ต่อสาธารณชนเลย บริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์อนุญาตให้ใช้โพรโทคอลรุ่นที่ 8 ขึ้นไปในการเชื่อมต่อเท่านั้น คำสั่งต่างๆในโปรโตรคอลรุ่นที่ 8, 9, 10, 11, 12 จะสามารถรู้ได้โดยใช้โปรแกรมดักจับเช่น Ethereal. MSNP13 จะยังคงใช้เป็นโพรโทคอลใน Windows Live Messenger 8 วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ใช้โพรโทคอล Microsoft Status Notification (MSNP) บน TCP (และบางครั้งก็ใช้ HTTP เพื่อจัดการกับพร็อกซี่) ในการเชื่อมต่อไปยังบริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ โดยผ่านพอร์ต 1863 ของ messenger.hotmail.com ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ได้พัฒนามาถึงรุ่นที่ 14 แล้ว (MSNP14) ซึ่งวินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ และไคลเอนต์อื่นๆ ก็ใช้โพรโทคอลรุ่นนี้อยู่. MSNP14 เพิ่มส่วนในการใช้งานร่วมกันในแบบ interoperability กับ Yahoo Messenger โพรโทคอลรุ่นนี้ถูกเปิดเผยเพียงบางส่วนเท่านั้น ไมโครซอฟท์เคยเปิดเผยโพรโทคอลรุ่นที่ 2 (MSNP2) สำหรับนักพัฒนาในปี พ.ศ. 2542 ที่ Internet Draft แต่ไม่เคยเปิดเผยรุ่นที่ 8, 9, 10, 11, 12, 13 หรือ 14 ต่อสาธารณชนเลย บริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ในขณะนี้อนุญาตให้ใช้โพรโทคอลรุ่นที่ 8 ขึ้นไปในการเชื่อมต่อเท่านั้น คำสั่งต่างๆในโปรโตรคอลรุ่นที่ 8, 9, 10, 11, 12, 13 และ 14 จะสามารถรู้ได้โดยใช้โปรแกรมดักจับเช่น Wireshark.
ระบบส่งข้อความทันที หรือ ไอเอ็ม (instant messaging, IM) คือระบบการส่งข้อความ ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนใน เน็ตเวิร์ก เดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ทำงานอาจเรียกว่า เมสเซนเจอร์ (อังกฤษ: messenger) การทำงานของระบบส่งข้อความทันทีจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ลูกข่าย โดยซอฟต์แวร์ทำการเชื่อมต่อระบบที่บริการเมสเซนเจอร์ การส่งข้อความผ่านระบบส่งข้อความทันทีในยุคแรก ตัวอักษรแต่ละตัวที่ทำการพิมพ์จะปรากฏทางหน้าจอของผู้ที่ส่งข้อความด้วยทันที ในขณะเดียวกัน การลบตัวอักษรแต่ละตัว จะลบข้อความทันที ซึ่งแตกต่างกับระบบส่งข้อความทันทีในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีตกลงยอมรับส่งข้อความแล้ว ในปัจจุบันเมสเซนเจอร์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ LINE WeChat MSN Messenger AOL Instant Messenger Yahoo! Messenger Google Talk .NET Messenger Service Jabber และ ICQ
ในยุคแรกของระบบส่งข้อความทันทีมีการใช้งานในระบบ PLATO ในยุค 1970s ในช่วง 1980s-1990s ได้มีการใช้ในวงการศึกษาและวิศวกร ในชื่อ UNIX/LINUX talk ใช้กันในอินเทอร์เน็ต ใน พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้มีการพัฒนา ICQ มาใช้เป็นเมสเซนเจอร์ในเครื่องที่ไม่ใช่ UNIX/LINUX ครั้งแรก หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาระบบส่งข้อความทันที เป็นจำนวนมากโดยใช้โพรโทคอลของตัวเอง ทำให้มีผู้ใช้งานเมสเซนเจอร์หลายตัวภายในเครื่องเดียวกัน หรือผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ที่จะใช้โปรแกรมที่รองรับการทำงานหลายโพรโทคอล ได้แก่ Gaim หรือ Trillian ในปัจจุบัน นอกจากความสามารถในการส่งข้อความ เมสเซนเจอร์ต่างๆ ได้มีการรับรองการใช้งาน การส่งไฟล์ การประชุมออนไลน์ และ VoIP