ซอฟต์แวร์ สแนตช์บอต ( SnatchBot) เป็นเครื่องมือสร้างแชตบอตฟรีที่ให้บริการบนคลาวด์ โดยได้รับการออกแบบมาสำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์เฮนรี เบน เอซรา (Henri Ben Ezra) และอาวี เบน เอซรา (Avi Ben Ezra) เป็นผู้ก่อตั้งเครื่องมือนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2558 สแนตช์บอตเป็นหนึ่งในบริษัทใหม่ด้านเทคโนโลยีที่แยกตัวออกมาจากบริษัทหลักเฮอร์เซอลียาในอิสราเอล ในเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2558 สแนตช์บอตเป็นผู้สนับสนุนการประชุมเกี่ยวกับแชตบอตซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ผู้ใช้งานมากกว่า 30 ล้านคนได้เข้ามามีส่วนร่วมใช้งานแชตบอตที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มสแนตช์บอต สแนตช์บอตช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างบอทสำหรับเฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์, สแล็ก, สไกป์ บริการสารสั้น ทวิตเตอร์ และแพลตฟอร์มอื่น ๆ บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ สแนตช์บอตยังนำเสนอบริการแบบจำลองการประมวลผลภาษาธรรมชาติฟรีควบคู่ไปกับเครื่องมือคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ด้วยตนเองของบริษัทแพลตฟอร์มจะช่วยในการสร้างแชตบอตที่สามารถวิเคราะห์ความตั้งใจของผู้ใช้งานได้
เครือข่ายสังคม หมายถึงโครงสร้างทางสังคมที่สร้างขึ้นจากกลุ่มของผู้กระทำ (เช่นปัจเจกบุคคลหรือองค์การ) และความสัมพันธ์ทวิภาคระหว่างผู้กระทำเหล่านี้ ทัศนมิติเครือข่ายสังคมช่วยให้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างของหน่วยสังคมทั้งมวลได้อย่างกระจ่างแจ้ง การศึกษาโครงสร้างเหล่านี้ใช้การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมเพื่อระบุแบบอย่างท้องถิ่นหรือทั่วโลก ค้นหาหน่วยสังคมที่มีอิทธิพล และตรวจวัดพลวัตของเครือข่าย เครือข่ายทางสังคม หมายถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างกลุ่ม เพื่อเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ หรือเพื่อสร้างองค์กรไร้สาย ซึ่งปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) ผ่านสมาร์ตโฟนมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านสมาร์ตโฟนทำได้ง่ายขึ้นมาก เครือข่ายสังคมและการวิเคราะห์เป็นสาขาวิชาสหวิทยาการโดยแท้ อันปรากฏขึ้นจากจิตวิทยาสังคม สังคมวิทยา สถิติศาสตร์ และทฤษฎีกราฟ จอร์จ ซิมเมิล (Georg Simmel) ได้แต่งตำราเกี่ยวกับทฤษฎีเชิงโครงสร้างในสังคมวิทยา เพื่อเน้นให้เห็นถึงพลวัตของความสัมพันธ์ไตรภาคและ “ข่ายโยงใยของการเข้าร่วมกลุ่ม” จาค็อบ โมเรโน (Jacob Moreno) ก็มีชื่อเสียงในเรื่องการพัฒนาผังสังคมมิติ (sociogram) ขึ้นเป็นคนแรกในคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แนวการศึกษาเหล่านี้ถูกทำให้เป็นระเบียบแบบแผนเชิงคณิตศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 จากนั้นทฤษฎีและวิธีการต่าง ๆ ของเครือข่ายสังคมก็เป็นที่แพร่หลายในสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ปัจจุบันนี้การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมเป็นหนึ่งในกระบวนทัศน์หลักของสังคมวิทยาร่วมสมัย และถูกนำไปใช้ในศาสตร์เชิงสังคมและรูปนัยอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้เครือข่ายสังคมก่อร่างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาวิทยาการเครือข่ายที่เพิ่งเริ่มต้น ควบคู่ไปกับเครือข่ายซับซ้อนอื่น ๆ
ทีมพัฒนา Gaim ได้แยกโค้ดในส่วนหลักของโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อพูดคุย ออกจากส่วนติดต่อผู้ใช้ของโปรแกรมอย่างชัดเจน โดยเรียกโค้ดในส่วนนี้ว่า libgaim และมีซอฟต์แวร์หลายตัวที่นำส่วน libgaim ไปพัฒนาต่อ โดยใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น Adium, WengoPhone, Proteus และ Meebo และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2520 หน่วยงาน IETF ออกแบบและกำหนดโพรโทคอลในการส่งอีเมลที่มีชื่อว่า SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรับส่งอีเมลบนอินเทอร์เน็ต ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า
ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME) ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า
ในอดีตคำว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือการส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น นักเขียนหลายคนในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงการส่งเอกสารแฟกซ์ ด้วยเหตุนี้การค้นหาการใช้งานครั้งแรกจึงเป็นเรื่องยากสำหรับความหมายเฉพาะที่มีอยู่ในปัจจุบัน. คำว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำมาใช้กับความหมายในปัจจุบันอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และมีการใช้รูปแบบต่างๆของอีเมลที่สั้นกว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นอย่างน้อย การสะกดคำในภาษาอังกฤษ e-mail และ email เป็นการใช้โดยปกติทั้งคู่ แนวทางในการเขียนเชิงเทคนิคและเชิงข่าวหลายแห่งได้แนะนำว่าให้ใช้ e-mail ส่วนการสะกดว่า email นั้นก็มีการยอมรับโดยพจนานุกรมหลายเล่มเช่นกันในเอกสารขอความเห็น (RFC) ดั้งเดิมไม่ได้สะกดคำอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น เพียงแค่กล่าวถึงการบริการนั้นว่า mail และอีเมลฉบับหนึ่ง ๆ ก็เรียกว่า message นอกจากนั้นรูปพหูพจน์ e-mails หรือ emails ก็เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกัน เอกสารขอความเห็นใหม่ ๆ และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) เลือกที่จะใช้คำว่า email เพื่อการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่ การแบ่งยัติภังค์ และการสะกดคำศัพท์
โดนัลด์ คนูธ (Donald Knuth) พิจารณาว่าการสะกดว่า e-mail นั้นล้าสมัย และได้หมายเหตุไว้ว่าคนในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่สะกดเป็น email กัน ในภาษาอื่นของยุโรปบางภาษา คำว่า email นั้นไปพ้องกับคำว่า enamel (สิ่งเคลือบ)