Month: November 2021

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน

การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ ( HTTP persistent connection) คือแนวคิดของการใช้การเชื่อมต่อบนเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) อันเดียวกันในการส่งข้อความร้องขอและข้อความตอบรับของเกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (HTTP) ซึ่งปกติจะเป็นการเปิดการเชื่อมต่อใหม่ทุกครั้งเมื่อการรับส่งข้อความกันหนึ่งคู่ เน็ตสเคป แนวิเกเตอร์ตั้งแต่รุ่น 4.05 และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ตั้งแต่รุ่น 4.01 รองรับการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์และพร็อกซี แนวิเกเตอร์จะไม่ปิดการเชื่อมต่อแบบคงอยู่โดยรอให้หมดเวลา การเชื่อมต่อที่ปล่อยทิ้งไว้จะนำเข้าไปเก็บในคิว และเมื่อจำเป็นต้องเปิดการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ใหม่บนเครื่องให้บริการอื่น การเชื่อมต่อที่ปล่อยทิ้งจะถูกตัดจบ…

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน ( chunked transfer encoding) เป็นวิธีหนึ่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์เอชทีทีพี ในการส่งถ่ายข้อมูลไปยังโปรแกรมประยุกต์ของเครื่องลูกข่าย (ซึ่งมักจะเป็นเว็บเบราว์เซอร์) ปกติแล้วข้อมูลที่ได้รับจากข้อความตอบรับเอชทีทีพีจะถูกส่งมาเป็นข้อมูลชิ้นเดียว ซึ่งขนาดของเนื้อหานั้นได้แสดงไว้ในส่วนหัว Content-Length ขนาดของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าเครื่องลูกข่ายจำเป็นต้องทราบว่า เมื่อไรข้อความตอบรับจะสิ้นสุดและเมื่อไรข้อความถัดไปจะตามมา และด้วยการใช้การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน ข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นบล็อกย่อย ๆ และถูกส่งออกไปเป็นหนึ่งหรือหลาย “ชิ้นส่วน” (chunk)…

XMLHttpRequest

XMLHttpRequest (XHR) เป็นเอพีไอที่สามารถเรียกใช้ได้จาก จาวาสคริปต์ เจสคริปต์ วีบีสคริปต์ และภาษาสคริปต์อื่นๆ ในการแลกเปลี่ยน และปรับรูปแบบ XML จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ HTTP ซึ่งสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ (Client-Side) กับ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Server-Side) XMLHttpRequest นั้นถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้เทคนิค…

ไทยเมล์

ไทยเมล ( Thaimail) เป็นบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบบอกรับสมาชิกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Free e-mail) รายแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยบริษัท เอ.อาร์. อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จำกัด (ชื่อย่อ: ARiP;…

เอชทีทีพีเอส

เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี ( HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC…

อะแพชี แอกซิส

อะแพชี แอกซิส คือ โครงร่างซอฟต์แวร์ประเภทโอเพ่นซอร์ส ใช้สำหรับสร้างเว็บเซอร์วิซ โดยด้วย แอกซิส เองรองรับการพัฒนาอยู่ 2 ภาษาคือ ภาษาจาวา และ ภาษาซีพลัสพลัส ซึ่งนำไปใช้กับ SOAP Server นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือ และ APIs ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักพัฒนา…

เว็บเชิงความหมาย

เว็บเชิงความหมาย หรือ ซีแมนติกเว็บ ( Semantic Web) คือพัฒนาการของเวิลด์ไวด์เว็บซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการบริการบนเว็บไซต์ โดยสร้างความเป็นไปได้ที่เว็บไซต์จะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้และเครื่องมือที่ใช้บรรจุลงในสารบัญเว็บไซต์ ซึ่งมีที่มาจากเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เซอร์ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี มีทัศนคติเกี่ยวกับเว็บว่าเป็นแหล่งรวมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ เว็บเชิงความหมายโดยแก่นแท้จะบรรจุไปด้วยเซ็ตของหลักของการออกแบบ การทำงานร่วมกัน และความหลากหลายของเทคโนโลยี พื้นฐานบางส่วนของเว็บเชิงความหมายแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะรองรับกับเทคโนโลยีหรือสามารถนำมาใช้ได้จริงในภายภาคหน้าส่วนอื่นของเว็บเชิงความหมายแสดงถึงลักษณะพิเศษ ซึ่งจะประกอบด้วย Resource Description…

เว็บ 2.0

เว็บ 2.0 ( Web 2.0) มีความเชื่อมโยงกับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ ซึ่งมีลักษณะส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาในด้านแนวความคิดการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-centered design) และ การร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ตเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บไซต์ที่ออกแบบโดยใช้หลักการของเว็บ 2.0 ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกันในลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นเอง ต่างจาก เว็บ 1.0 ที่กลุ่มผู้ใช้ถูกจำกัดบทบาทโดยทำได้แค่เพียงการเยี่ยมชม…

แบล็กเกิล

แบล็กเกิล (Blackle) เป็นเว็บไซต์ที่ดัดแปลงมาจากเว็บไซต์กูเกิล พัฒนาโดย บริษัทฮีปมีเดีย จากออสเตรเลีย ระบบเสิร์ชเอนจินนั้นจะใช้ฐานข้อมูลตัวเดียวกับกูเกิล แต่จะมีการดัดแปลงหน้าตาที่ต่างออกไป โดยมีหน้าจอพื้นหลังโทนดำ ตัวอักษรสีขาวหรือเทา ทำให้ประหยัดพลังงาน เพราะพื้นสีดำใช้แสงสว่างน้อยกว่าสีขาวส่วนการค้นหานั้นก็ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับกูเกิล แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของกูเกิลแต่อย่างใดการวิพากษ์วิจารณ์ ข้อดีข้อเสีย ลักษณะการใช้งานที่โฆษณาไว้ได้แก่ข้อดีสามารถประหยัดไฟได้อย่างน้อยประมาณ 750 เมกกะ-วัตต์ ต่อปี ซึ่งในโลกปัจจุบันนี้ การประหยัดพลังงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง-ประหยัดค่าไฟของบ้าน-ประหยัดค่าไฟโลก…

โซป

โซป (SOAP: Simple Object Access protocol โพรโทคอลเข้าถึงอ็อบเจกต์อย่างง่าย) เว็บเซอร์วิซเป็นลักษณะในรูปแบบของการออกแบบโมเดลสื่อสาร ในลักษณะของการกระจาย,การติดต่อสื่อสารที่เป็นตัวกลาง โดยโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารคือ SOAP (Simple Object Access Protocol) เป็นโพรโทคอลในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นโพรโทคอลการสื่อสาร ในระดับ Application Layer หรือในระดับ…