Month: September 2021

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ( Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากกูเกิล โครมและซาฟารี_(เว็บเบราว์เซอร์) และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ…

ธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต

ธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต คือการพัฒนาและการประยุกต์หลักการ ปทัสถาน กฎเกณฑ์ กระบวนการตัดสินใจ และโครงการต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางและรูปแบบการวิวัฒนาการและการใช้งานอินเทอร์เน็ตนิยามของธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตนั้นได้รับการทดสอบท้าทายจากหลายฝ่ายในทุกอุดมการณ์และแนวคิดทางการเมือง หนึ่งในการถกเถียงหลักนั้นครุ่นคิดเกี่ยวกับอำนาจและการมีส่วนร่วมของผู้เล่น เช่น รัฐบาลแห่งชาติ องค์กรธุรกิจ และประชาสังคม กับการมีบทบาทในการอภิบาลอินเทอร์เน็ต คณะทำงานที่ตั้งขึ้นโดยการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society…

ไซเบอร์สเปซ

ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace) หรือ ปริภูมิไซเบอร์ เป็นภาวะนามธรรมเชิงอุปลักษณ์ ใช้ในด้านปรัชญา หรือ คอมพิวเตอร์ เป็นความจริงเสมือนซึ่งแทนโลกในทฤษฎีทางปรัชญาของ คารล์ ปอปเปอร์ (Karl Popper) ซึ่งรวมทั้งสิ่งต่างๆ ในคอมพิวเตอร์จนถึงระบบเครือข่ายความหมายมีหลากหลายรูปแบบ เช่น หมายถึงปริภูมิของวัตถุและเอกลักษณ์หรือความเป็นตัวตนของมันในโลกอินเทอร์เน็ต หรือพื้นที่ ช่องว่างในโลกของเกม…

คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต

คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต หรือ ไออีทีเอฟ (Internet Engineering Task Force: IETF) เป็นองค์กรของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานโพรโทคอลสำหรับการทำงานของอินเทอร์เน็ต เช่น TCP/IP IETF เป็นชุมชนเปิดขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย นักออกแบบเครือข่าย ผู้ประกอบการ ผู้ขาย และนักวิจัย เป็นต้น…

การประท้วงร่างรัฐบัญญัติโซปาและพีปา

การปิดวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นการประท้วงออนไลน์ 24 ชั่วโมงซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลาเที่ยงคืน ตามเวลามาตรฐานตะวันออกสหรัฐ เว็บไซต์วิกิพีเดียแสดงเพียงข้อความต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) และร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี (PIPA) ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่กำลังมีการเสนอในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา โดยไม่แสดงบทความตามปกติ วันที่ 16 มกราคม ผู้ก่อตั้งวิกิมีเดีย จิมมี…

ประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ต

ประวัติอินเทอร์เน็ต เป็นการศึกษาความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต ความคิดเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายเดียวที่สามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถสื่อสารกันได้นั้นได้มีการพัฒนาผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน การหลอมรวมกันของการพัฒนาเหล่านั้นได้นำไปสู่เครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลายที่รู้จักกันในชื่อว่า อินเทอร์เน็ต การพัฒนาเหล่านั้นมีทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการรวมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน ความคิดเรื่องนี้ในครั้งแรก ๆ ปรากฏขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หากแต่การนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติได้จริงนั้นเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เทคโนโลยีซึ่งนับได้ว่าเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตสมัยใหม่นั้นได้เริ่มแพร่หลายออกไปทั่วโลก ในคริสต์ทศวรรษ 1990…

อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์

อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ ( Internet Archive) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ทั่วไปในลักษณะของห้องสมุดดิจิตัล โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ เพรซีดีโอ ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมีศูนย์ข้อมูลอยู่ที่ ซานฟรานซิสโก เรดวูดซิตี และ เมาน์เทนวิว โดยข้อมูลที่เก็บไว้ได้แก่ภาพหน้าจอของเว็บไซต์ในแต่ละช่วงเวลา และข้อมูลของเว็บไซต์นั้น[Archive.org เป็นเว็บไซต์ที่เก็บข้อมูลเก่าของข้อมูลและสื่อต่างๆ ที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต โดยทำการรวบรวมหน้าตาเว็บไซต์ ในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต ( Dynamic random-access memory, DRAM) หรือ ดีแรม เป็นหน่วยความจำชั่วคราวเข้าถึงโดยสุ่ม (หรือ แรม) โดยเก็บข้อมูลแต่ละบิตในแต่ละตัวเก็บประจุซึ่งอยู่ภายในแผงวงจรรวมของหน่วยความจำ การทำงานอาศัยการเก็บประจุและการเสียประจุของแต่ละตัวเก็บประจุซึ่งจะใช้แทนค่า 0 และ 1 ของแต่ละบิตได้ แต่เมื่อหน่วยความจำมีการเสียประจุออกจึงทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้นั้นอันตรธานหายไปด้วย ดังนั้นการใช้ดีแรมจึงต้องมีการทวนความจำให้กับดีแรมอย่างสม่ำเสมอตราบเท่าที่ยังต้องการให้มันเก็บข้อมูลได้อยู่ จึงทำให้เรียกแรมชนิดนี้ว่าพลวัต…

ไมโครโพรเซสเซอร์

ไมโครโพรเซสเซอร์ ( microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์RISC (Reduced Instruction Set Computer) คือ ไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งน้อย แต่คำสั่งทำงานได้เร็ว เริ่มต้นพัฒนาด้วยความร่วมมือของ ไอบีเอ็ม มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ได้…

เครื่องแถบแม่เหล็ก

เครื่องแถบแม่เหล็ก เป็นเครื่องที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลบนแถบแม่เหล็ก มีหลักการทำงานเหมือนเครื่องบันทึกเสียงด้วยแถบแม่เหล็กทั่วไปที่ใช้อยู่ตามบ้าน แต่ได้ออกแบบให้มีความก้าวหน้าทางเทคนิคมากกว่า เช่น มีความเร็วสูงกว่าเครื่องที่ใช้ตามบ้าน คือมีอัตราเร็ว 25-100 นิ้วต่อวินาที เริ่มเดินแถบและหยุดแถบได้เร็วกว่าระหว่างทำงานสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้เร็วกว่า เป็นต้นไดรฟ์แถบแม่เหล็ก ถูกใช้เป็นครั้งแรกในการจัดเก็บข้อมูล เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 1 เมกะไบต์ เมื่อเทคโนโลยีทันสมัยความจุได้เพิ่มขึ้นเป็น 10…